วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติ ส่วนตัว


นาย         : รชตะ ปานพุ่มชื่น  

รหัสนิสิต : 53520183

คณะ        : มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

ภาควิชา  : ศาสนาและปรัชญา

การดูแลยางรถยนต์

คำถามคำตอบในส่วนต่อไปนี้ จะช่วยให้ท่านมีความเข้าใจถึงการดูแลรักษายางอย่างถูกวิธี อันจะส่งผลให้ท่านได้รับความปลอดภัยในการขับขี่ได้มากขึ้น และทำให้ยางมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น คุ้มค่ากับเงินที่ท่านได้จ่ายไป







1. ยางที่ใช้อยู่ควรจะเติมลมกี่ปอนด์ ?



การเติมลมยางให้ได้อัตราที่ถูกต้อง คือสิ่งสำคัญ และจำเป็นที่สุดของการดูแลรักษายาง ยางที่ใช้อยู่ควรสูบลมให้ได้ตามอัตราสูบลมที่โรงงานผู้ผลิตรถยนต์ได้กำหนดไว้ โดยปกติแล้วอัตราสูบลมที่ถูกต้อง และเหมาะสมสำหรับรถแต่ละชนิด ที่โรงงานผู้ผลิตรถยนต์กำหนดไว้นั้น จะระบุไว้ในแผ่นโลหะ หรือสติ๊กเกอร์ที่ติดไว้บริเวณสันประตู หรือเสากลางข้างตัวรถ หรือติดไว้ในช่องเก็บของภายในรถ นอกจากนั้น ยังมีระบุไว้ในหนังสือคู่มือการใช้รถอีกด้วย



แต่หากท่านมิได้ใช้ยางขนาดเดียวกันกับยางที่ติดรถมา ท่านควรขอคำแนะนำเกี่ยวกับอัตราสูบลมยางที่เหมาะสมจากโรงงานผู้ผลิตรถยนต์ หรือร้านจำหน่ายยางที่ได้มาตราฐาน



สำหรับยางอะไหล่ ท่านควรสูบลมไว้ให้มากกว่ามาตราฐาน 3-4 ปอนด์ และลดลงให้กลับสู่อัตราปกติ เมื่อนำไปใช้









2. การใช้ลมอ่อนเกินไป จะมีผลอย่างไรต่อยางที่ใช้อยู่ ?



การใช้ยางที่สูบลมไว้ต่ำกว่าอัตราที่เหมาะสมถูกต้อง หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า ลมอ่อนเกินไปนั้น นับเป็นศัตรูตัวสำคัญต่ออายุการใช้งานของยางทีเดียว อีกทั้งยังจะส่งผลเสียอย่างมากต่อยางที่ใช้อยู่ กล่าวคือ



ในขณะรถวิ่ง ยางจะเกิดความร้อนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมากกว่าที่ควรจะเป็น ความสามารถในการบรรทุกน้ำหนักจะลดน้อยลงกว่ามาตราฐาน และสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น









3. ควรตรวจเช็คลมยางเมื่อไร ?



ท่านควรตรวจเช็คลมยางอย่างสม่ำเสมอประมาณอาทิตย์ละครั้ง หรือทุกครั้งก่อนเดินทางในขณะที่ยางยังเย็นอยู่ กล่าวคือวิ่งมาไม่เกิน 1.5 – 2.0 กิโลเมตร เพราะขณะที่รถวิ่งนั้น ความดันลมในยางจะเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติ หากท่านทำการตรวจเช็คอัตราลมในขณะนั้น ก็จะได้ค่าที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น จึงควรตรวจเช็คอัตราลมในขณะที่ยางยังเย็นอยู่ หรือประมาณ 2-3 ชั่วโมงหลังการใช้งาน



ท่านไม่ควรใช้วิธีสังเกตด้วยตาว่า ลมยางของท่านอ่อนเกินไปหรือยัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยางที่ท่านกำลังใช้อยู่เป็นยางเรเดียยล ท่านควรตรวจเช็คลมโดยให้เกจ์วัดลมที่ได้มาตราฐาน ซึ่งสามารถหาซื้อได้จากห้างสรรพสินค้า หรือตามร้านจำหน่ายยางที่ได้มาตราฐาน



4. ทำไมถึงต้องมีการสลับยาง



วัตถุประสงค์หลักของการสลับยาง ก็เพื่อให้ยางทุกเส้นมีการสึกที่เท่ากัน ดังนั้นท่านควรศึกษาคู่มือการใช้รถเกี่ยวกับคำแนะนำในการสลับยาง ซึ่งโดยปกติแล้ว ท่านควรสลับยางทุกๆ 9,000 – 13,000 กิโลเมตร หากรถของท่านเป็นรถใหม่ ท่านควรจะสลับยางในทันทีที่ท่านใช้รถครบ 10,000 กิโลเมตรแรก



หากยางเกิดการสึกที่ไม่สม่ำเสมอ ท่านควรรีบปรึกษากับร้านผู้ชำนาญงาน เพื่อตรวจเช็คศูนย์ล้อ ถ่วงล้อ ตลอดจนระบบช่วงล่างโดยทันที



โรงงานผู้ผลิตรถยนต์ มักจะแนะนำให้เติมลมยางล้อหน้า และล้อหลังต่างกัน ดังนั้นเมื่อสลับยางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านก็ต้องปรับระดับความดันลมของยางล้อหน้า และล้อหลังให้ถูกต้อง







5. ทำไมต้องมีการถ่วงล้อ



หากเกิดการกระจายน้ำหนักไม่ถูกต้องของยาง และกะทะล้อ จะก่อให้เกิดอาการสั่นสะท้านขึ้นขณะที่รถวิ่ง อันจะมีผลเสียต่ออายุการใช้งานของยาง ระบบช่วงล่างของรถ ตลอดจนความสะดวกสบายในการขับขี่ การถ่วงล้อจะช่วยให้เกิดการกระจายน้ำหนักที่ถูกต้องของยาง และกะทะล้อ ซึ่งการถ่วงล้อก็สามารถกระทำได้ โดยเพิ่มน้ำหนักลงไป ณ จุดใดจุดหนึ่งที่ขอบกะทะล้อ







6. เมื่อไรจึงควรจะถ่วงล้อ



ยางและกะทะล้อควรส่งเข้ารับการบริการถ่วงล้อในทันทีที่ เมื่อมีการเปลี่ยนยางใหม่ เมื่อมีการสลับยาง สลับกะทะล้อ เมื่อนำยางที่ใช้แล้วมาใส่กะทะล้อที่ใช้อยู่ เมื่อยางแตก และได้รับการปะยางเป็นที่เรียบร้อย เมื่อมีการถอดยางออกจากกะทะล้อ หรือใส่ยางกลับเข้ากะทะล้อ เมื่อเกิดการสั่นสะท้านขณะที่รถวิ่ง เมื่อเกิดการสึกไม่สม่ำเสมอ ท่านควรส่งรถเข้ารับบริการถ่วงล้อจากร้านยางที่ได้มาตราฐานเท่านั้น







7. การตั้งศูนย์ล้อคืออะไร



การตั้งศูนย์ล้อ คือการทำให้ส่วนประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบบังคับเลี้ยว ระบบช่วงล่างล้อ และยาง ทำงานสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้รถวิ่งได้ตรง ไม่ดึงไปทางซ้ายหรือขวา ระบบช่วงล่าง และระบบบังคับเลี้ยวของรถนั้น มีชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย ที่มีการเคลื่อนไหวขณะรถวิ่ง และย่อมจะมีการสึกหรอเกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ศูนย์ล้อผิดเพี้ยนไปจากสเป็คที่ถูกต้อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับตั้งศูนย์ล้อเพื่อให้ได้ค่าตามที่กำหนดไว้ในสเป็คของรถ นอกจากนั้น ศูนย์ล้อยังขึ้นอยู่กับความสูงของตัวรถกับพื้นถนน และการกระจายน้ำหนักลงบนล้อรถด้วย กล่าวคือ เมื่อรถถูกใช้งานนานขึ้น คอยส์สปริง บุช ลูกยางต่างๆก็เริ่มหมดอายุ ความสูง และการกระจายน้ำหนักของรถก็ผิดไปจากมาตราฐานเดิม อันจะส่งผลให้ศูนย์ล้อผิดพลาดไปจากสเป็ค เมื่อใดก็ตามที่ศูนย์ล้อไม่ถูกต้องตามสเป็ค ล้อรถกับตัวถัง หรือล้อข้างซ้ายกับล้อข้างขวาก็จะไม่เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน อันจะเป็นผลให้รถวิ่งไม่ตรง หรือเกิดอาการแฉลบ หรือพวงมาลัยดึงไปข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้ยางสึกผิดปกติ







8. ทำไมต้องมีการปรับตั้งศูนย์ล้อ



เพราะการที่รถมีศูนย์ล้อที่ไม่ถูกต้อง นอกจากจะทำให้ยางเกิดการสึกที่ผิดปกติแล้ว ยังมีผลต่อระบบควบคุมบังคับทิศทางของรถด้วย ดังนั้น หากรถของท่านที่มีอาการผิดปกติในการควบคุมบังคับทิศทางของรถ หรือท่านสังเกตุเห็นว่ายางที่ใช้อยู่มีลักษณะสึกที่ไม่สม่ำเสมอ หรือผิดปกติ ก็สามารถบ่งชี้ได้ว่าศูนย์ล้อรถของท่านจำเป็นต้องได้รับการตรวจเช็ค และปรับตั้งศูนย์ล้อแล้ว และแม้ท่านจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนี้ แต่ก็เป็นค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ท่านจะต้องใช้ในการซื้อยางชุดใหม่ ซ่อมแซมช่วงล่าง และที่สำคัญคืออันตราย อันอาจจะเกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน และชีวิตของท่าน







9. มีคำแนะนำอย่างไร เมื่อต้องการเปลี่ยนยางชุดใหม่



ในการเลือกยางรถยนต์สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ

ประเภทรถยนต์ รถยนต์หนัก รถยนต์เบา

สมรรถนะความเร็วรถ ความเร็วปกติ ความเร็วสูง

ลักษณะการขับขี่ ขับช้า ขับเร็ว หรือขับเร็วมาก

สภาพพื้นผิวถนน ถนนเรียบ ถนนขรุขระ ถนนทราย

สภาพภูมิอากาศ ร้อน หนาว ฝนตกชุก

ใช้ยางกับกะทะล้อให้ถูกต้องตามที่กำหนดโดยโรงงานผู้ผลิตรถยนต์ และกะทะที่ใช้จะต้องไม่บิดเบี้ยว หรือเป็นสนิม

อย่าเลือกใช้ยางที่มีขนาดเล็กกว่ายางที่ติดรถมา ทั้งนี้เพราะยางที่มีขนาดเล็กกว่าย่อมมีประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักบรรทุกได้น้อยกว่า (รวมทั้งน้ำหนักตัวรถด้วย) ฉะนั้น ควรใช้ยางให้ถูกตามขนาดที่กำหนดโดยโรงงานผู้ผลิต หรือตามคำแนะนำจากร้านจำหน่ายยางที่ชำนาญงานเท่านั้น

ควรใช้ยางชนิดเดียวกัน ดอกเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการขับขี่อย่างเต็มที่ ท่านควรตระหนักว่า ยางต่างชนิดกัน ย่อมมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน และมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่แตกต่างกันด้วย อนึ่ง หากท่านมีความจำเป็นต้องใช้ยางที่ต่างชนิด หรือดอกยางต่างกัน ก็ควรจะใช้ยางชนิดหรือดอกเดียวกันในเพลาเดียวกัน

หากท่านมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยางต่างขนาดกัน ให้ใช้ยางที่มีซีรีส์เท่ากันในเพลาเดียวกัน และให้ใช้ยางซีรีส์ต่ำกว่าเป็นยางหลัง ส่วนยางซีรีส์สูงกว่าเป็นยางหน้า

เมื่อท่านเปลี่ยนยางใหม่แล้ว ท่านควรขับรถด้วยความระมัดระวังเพื่อให้ชินกับยางชุดใหม่เสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่เบรครถ เร่งความเร็วรถ เข้าโค้ง หรือใช้รถขณะฝนตก ทั้งนี้เพราะยางชุดใหม่อาจให้ความรู้สึกที่ผิดไปจากยางชุดเก่าที่ท่านเคยใช้

ข้อควรระวัง เกี่ยวกับความปลอดภัย การถอดหรือใส่ยางเข้ากะทะล้อ ควรกระทำโดยผู้ชำนาญงานเท่านั้น มิฉะนั้น อาจเกิดความเสียหาย และอันตรายขณะถอดใส่ได้





10. จะทำอย่างไรเมื่อรถเกิดอาการสั่นสะท้าน



อาการสั่นสะท้านย่อมแสดงว่า มีสิ่งผิดปกติกับรถที่ใช้อยู่ และควรได้รับการแก้ไขโดยทันที มิฉะนั้นจะส่งผลเสียต่อยางที่ใช้ระบบช่วงล่าง ตลอดจนระบบพวงมาลัย เมื่อเกิดอาการสั่นสะท้านขึ้น ท่านควรตรวจเช็คการสึกของยาง เพราะลักษณะการสึกจะทำให้ท่านพอทราบถึงสาเหตุของการสั่นสะท้าน และวิธีการป้องกัน







11. นิสัยการขับรถมีผลต่อการสึกของยางหรือไม่



นิสัยการขับรถของแต่ละท่าน จะมีผลต่อการสึกของยางก่อนกำหนด ฉะนั้นเพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของรถ ท่านควรหลีกเลี่ยงนิสัยการขับต่อไปนี้ ออกรถ และหยุดรถอย่างรุนแรง การหักเลี้ยวอย่างรุนแรง การขับรถปีนขอบถนน ขับเบียดฟุตบาท การขับโดยไม่หลบหลุม ก้อนหิน หรือสิ่งกีดขวาง

การบำรุงรักษาหม้อน้ำ (ระบบหล่อเย็น)


เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ วิธีการบำรุงรักษาหม้อน้ำหรือระบบหล่อเย็น หม้อน้ำ ถือว่าเป็นหัวใจสำคั­อีกตัวหนึ่งของรถยนต์ เพราะหม้อน้ำจะช่วยระบายความร้อนในการทำงานของเครื่องยนต์ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์่ร้อนจัด การระบายความร้อนของรถยนต์โดยทั่วไปจะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน ทำให้ต้องมีการเช็คระดับน้ำอยู่เสมอว่าลดลงไปมากเท่าใด ถ้าลดลงมากจนแห้งอาจจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูงหรือโอเวอร์ฮีท และสร้างความเสียหายตามมาได้








ในหน้าปัดรถของเรานั้นจะมีสั­­าณเตือนหรือเป็นเข็มบอก โดยจะใช้สั­ลักษณ์เป็นตัว C ย่อมาจาก Cool คือเย็น และ H ย่อมาจาก HOT คือร้อน ปกติแล้วถ้าระดับน้ำถูกต้องเข็มวัดความร้อนจะอยู่ในระดับปานกลางระหว่าง C กับ H แต่ถ้าขาดการดูแลจนระดับน้ำแห้งความร้อนจะมีมากขึ้นจนเข็มชี้ไปที่ H นั้น แปลว่ารถเกิดความร้อนมากต้องรีบจอดรถและหาน้ำมาเติม การเติมน้ำจะต้องรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน ที่สำคั­ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องร้อนจัดเพราะอาจจะได้รับอันตราย จากไอน้ำที่พุ่งออกมาได้







ดังนั้น เพื่อให้หม้อน้ำรถยนต์อยู่คู่กับรถยนต์ของท่านไปนานๆ ก็ควรดูแลรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหม้อน้ำเกิดปั­หาขึ้นมา เครื่องยนต์จะเป็นส่วนที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดเป็นลำดับต่อไป เครื่องยนต์อาจจะร้อนจัดขนาด OVER HEAT สิ่งที่ต้องเสียตามมาติดๆ คือเงินในกระเป๋าสตางค์ของท่าน ต้องถูกควักจ่ายเพิ่มขึ้นนั่นเอง ดังนั้นรักคุณ รักรถจะมาบอกวิธีในการดูแลรักษาหม้อน้ำโดยมีดังนี้







1. ควรตรวจดูระดับน้ำทุกๆ ครั้งก่อนสตาร์ตเครื่องยนต์ หรืออย่างน้อยทุกๆ 2-3 วัน สำหรับรถที่มีอายุเกิน 5 ปี และอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สำหรับรถใหม่อายุไม่เกิน 5 ปี ซึ่งปรกติระดับน้ำควรอยู่ตรงคอหม้อน้ำพอดี หรืออยู่ระหว่างกึ่งกลางขีด MAX และ MIN สำหรับรถที่มีหม้อพักน้ำ







2. ควรเติมน้ำที่สะอาดลงไปในหม้อน้ำเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้หม้อน้ำ หรือทางเดินของหลอดรังผึ้งหม้อน้ำเกิดการอุดตัน ถ้าเป็นไปได้ น้ำที่เราใช้ดื่มดีที่สุดสำหรับใช้เติมหม้อน้ำ







3. หมั่นตรวจดูรอยรั่วตามที่จุดต่างๆ อย่างเช่น ท่อยางหม้อน้ำ ครีบรังผึ้ง ปั๊มน้ำ ฯลฯ หากพบรอยรั่วซึม ควรทำการซ่อมทันที







4. ตรวจดูสายพานหน้าเครื่อง ไม่ควรให้หย่อนหรือตึงเกินไป ตามปรกติเมื่อใช้มือกดลงบนสายพานควรยุบตัวลงประมาณ 1 นิ้ว







5. ตรวจดูครีบรังผึ้ง (FIN) ของหม้อน้ำ อย่าให้พับงอปิดช่องทางผ่านของลม ไม่ควรให้สกปรกด้วยดินโคลนและคราบน้ำมัน เพราะจะทำให้ระบายความร้อนได้ยาก เครื่องยนต์อาจร้อนจัด และหากครีบพับงอ ให้ใช้ใบเลื่อยหรือโลหะบางๆ ดัดให้ตรง หรือถ้าครีบสกปรกมากให้ทำความสะอาดโดยใช้ลมเป่าหรือน้ำร้อนที่มีความดันสูงพอพ่นย้อนทิศทางลมเข้า







6. พัดลมระบายความร้อนควรอยู่ในสภาพที่ดี ไม่แตกหัก หรือบิดงอเสียศูนย์ เพราะจะทำให้ปั๊มน้ำชำรุดได้ แต่ถ้าเป็นพัดลมไฟฟ้า ต้องคอยตรวจเช็คว่าพัดลมหมุนด้วยความเร็วเท่าเดิมหรือไม่ เพราะถ้าพัดลมหมุนด้วยรอบที่ช้าลง การระบายความร้อนให้หม้อน้ำรถยนต์ก็จะด้อยตามไปด้วย







7. ไม่ควรติดเครื่องยนต์โดยไม่ได้ปิดฝาหม้อน้ำเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดตะกรันในหม้อน้ำและภายในเครื่องยนต์ เนื่องจากน้ำในรังผึ้งหม้อน้ำระเหย

ออกมา เมื่อเกิดตะกรันในหม้อน้ำ หรือบริเวณท่อทางเดินน้ำในเครื่องยนต์มาก ๆ จะเป็นผลให้เครื่องยนต์ร้อนจัด เพราะการระบายความร้อนไม่ดีพอ







8. เกจวัดความร้อนต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หากเสียใช้การไม่ได้ให้เปลี่ยนใหม่ทันที







9. หากน้ำในหม้อน้ำแห้ง ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน และมีอุณหภูมิสูง ไม่ควรดับเครื่องยนต์และเติมน้ำในทันที ให้ติดเครื่องเดินเบาๆ สักระยะหนึ่ง พอให้อุณหภูมิเครื่องยนต์ลดลง แล้วค่อยๆ เติมน้ำที่สะอาดลงไปทีละน้อยด้วยความระมัดระวัง







10 ควรถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุกๆ 4-6 เดือน หรือเมื่อเห็นว่าน้ำในหม้อน้ำสกปรกมากแล้ว เช่น มีสนิมหรือคราบน้ำมัน









10 วิธีง่ายๆ ที่จะให้คุณดูแลรถสุดที่รักของคุณให้อยู่กับคุณไปนานๆ







วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ค่าOffset ของล้อแม็ก คืออะไร ?

                                               ออฟเซ็ต ( Offset , ET )




คือตำแหน่งของระยะห่างระหว่าง เส้นแบ่งครึ่งล้อตามแนวขวาง กับ หน้าแปลนของล้อ (Hub Mounting Surface) โดยมีหน่วยเป็น มิลลิเมตร ซึ่งระบุเป็น 3 ค่าด้วยกันคือ







ค่าออฟเซ็ต เท่ากับศูนย์ Zero Offset (0)



คือค่า ระยะห่างของ หน้าแปลนล้อ ( Hub Mounting Surface ) ตรงกับ เส้นแบ่งครึ่งของ ล้อตามแนวขวางของล้อพอดี





ค่า ออฟเซ็ต เป็นบวก Positive (+)



คือระยะห่างของเส้นแบ่งครึ่งล้อวัดไปถึงหน้าแปลนล้อโดยมีทิศทางไปนอกตัวรถ วัดได้เป็นระยะเท่าไรนั้นถือค่าเป็นบวก(+) เช่น +20, +30, +38, +45 เป็นต้น ซึ่งมักพบกับล้อที่ใช้กับรถขับเคลื่อนล้อหน้าเสียส่วนใหญ่





ค่าออฟเซ็ต เป็นลบ Negative (-)



คือระยะห่างของเส้นแบ่งครึ่งล้อวัดไปถึงหน้าแปลนล้อ หรือพูดง่ายๆ ว่าหน้าแปลนของล้อมีระยะเกินเส้นแบ่งครึ่งล้อไปในทิศทางเข้าในตัวรถ วัดได้เป็นระยะเท่าไรนั้นถือค่าเป็น (-) เช่น -5, -10, -20 เป็นต้น ซึ่งรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลังมักกำหนดให้ใช้ล้อแม็กที่มีค่าออฟเซ็ตเป็นลบหรือก็บวกไม่มาก



เรื่องนี้หากมีการเลือกค่า offset ที่ไม่ตรงกับรถนั้นๆ ก็จะมีผลกระทบตามมาเช่นกัน หรือหากมีการเปลี่ยนขนาดความกว้างของล้อ ค่า Offset ก็เปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาหรือรู้ถึงค่า Offset สำหรับรถของท่านควรมีตัวเลขอยู่ที่เท่าไร ? เพื่อจะได้ไม่สร้างปัญหาให้แก่ตัวรถของท่าน



เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าล้อของเรามีค่า Offset เท่าไร ?



การดูค่า offset ล้อแม็ก ของเราด้วยตนเอง

โดยปกติ ล้อแม็ก ส่วนใหญ่ จะมีตัวเลขบ่งบอกไว้ที่ตัวล้อเองเลย ซึ่งเรามักสังเกตุเห็น ตัวเลขที่มักจะตามตัวอักษร เช่น " ET 38 " ก็หมายถึง offsET 38 นั่นเอง หรือบางที ก็อาจมีเฉพาะตัวเลขลอยๆ ไม่มีตัวอักษรนำหน้าก็มี เช่น " 45 " ก็หมายถึง Offset = 45 เหมือนกัน ดูตัวอย่าง ที่รูปภาพด้านล่าง





แต่หากดูที่ล้อแล้ว ไม่ปรากฎ ตัวอักษรหรือตัวเลขดังกล่าว เราก็มีวิธีหาค่า Offset ได้เหมือนกัน แต่ต้องใช้เครื่องวัดและการคำนวณประกอบกัน

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Rotary engine

                                                เครื่องยนต์โรตารี่

      

ใช้ระบบการเผาไหม้ และ ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง เหมือนกับเครื่องยนต์ลูกสูบ


โรเตอร์



ตัวโรเตอร์ มีส่วนโค้งอยู่ 3 หน้า แต่ละหน้าทำหน้าที่ได้เหมือนกับลูกสูบ ดังนั้นจึงต้องเซาะเป็นร่องไว้ เพื่อเพิ่มความจุของแก๊ส ให้เกิดการเผาไหม้ได้มากพอ







ที่จุดปลายของโรเตอร์ เป็นใบมีด เพื่อใช้ในการชีลด์หัองเผาไหม้ ไม่ให้เกิดการรั่วไหลของแก๊สได้ ด้านข้างของโรเตอร์ก็ต้องชีลด์ด้วยแหวนโลหะ



ช่องกลางเป็นฟันเกียร์ ซึ่งจะขบเข้ากับเฟืองเกียร์ซึ่งจะทำให้โรเตอร์สามารถหมุนในห้องเผาไหม้ได้



เสื้อโรเตอร์หรือห้องเผาไหม้ (Housing)



หัองเผาไหม้มีลักษณะดังรูป 






ตัวโรเตอร์แบ่งห้องเผาไหม้ออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนทำหน้าที่การเผาไหม้ออกเป็น 4 จังหวะดังนี้



ดูด

อัด

ระเบิด

คาย

ช่องไอดีและไอเสียเป็นท่อเปิดอยู่ภายในเสื้อ ไม่ใช้วาวล์ ช่องไอเสีย และไอดีต่อโดยตรงกับท่อ



เพลาส่งกำลัง







เพลาส่งกำลังมีลูกเบี้ยวอยู่ 2 อัน



ลูกเบี้ยวทำให้โรเตอร์หมุนออกจากจุดศูนย์กลางอย่างไม่สม่ำเสมอ (ไม่ได้หมุนเป็นวงกลม) ในรูปภาพมีลูกเบี้ยว 2 อัน แสดงว่ามีโรเตอร์อยู่ 2 อัน ลูกเบี้ยวของเครื่องยนต์โรตารี่ ทำหน้าที่เหมือนกับเพลาลูกเบี้ยวในเครื่องยนต์ลูกสูบ ขณะที่โรเตอร์หมุน มันจะมีแรงเยื้องศูนย์กระทำกับลูกเบี้ยวอยู่ตลอดเวลา แรงที่กดนี้ทำให้เกิดแรงบิด (Torque) ขึ้น และทำให้เพลาหมุน



                                                นำมาประกอบเข้าด้วยกัน


                                  


เพลาส่งกำลังต้องมีการชีลด์ป้องกันแก๊สรั่ว และลูกปืนต้องหล่อลื่น ผิวภายในขัดเรียบเงาไม่ให้เกิดแรงเสียดทาน ช่องไอดี (Intake port)เจาะไว้ตามตำแหน่งดังรูป





ฝาปิดหัวท้าย ในรูปจะเห็นช่องไอดี (Intake port) อย่างชัดเจน







ตำแหน่งของช่องไอเสีย (Exhaust Port)



ฝาปิดประกบเข้าชิ้นส่วนบนนี้ ซึ่งมีช่องเจาะสำหรับไอเสียอยู่ด้วย







ชิ้นส่วนบนนี้ จะถูกแซนวิสไว้ตรงกลางโดยประกบเข้ากับฝาปิดหัวท้าย




                                                กำลังงาน




เครื่องยนต์โรตารี่เป็นเครื่องยนต์เผาไหม้ 4 จังหวะ แต่มีความแตกต่างจากเครื่องยนต์ 4 จังหวะของเครื่องยนต์แบบลูกสูบ ดังจะได้อธิบายต่อไป



ส่วนสำคัญของเครื่องยนต์โรตารี่ คือ ตัวโรเตอร์ ซึ่งเทียบได้กับลูกสูบของรถยนต์ โรเตอร์สวมไว้กับเพลาลูกเบี้ยว ทำให้หมุนเยื้องศูนย์ให้แรงบิดกับเพลาได้ ขณะที่โรเตอร์หมุน ถ้าคุณสังเกตให้ดี ลูกเบี้ยวจะหมุนไป 3 รอบ ต่อการหมุนของโรเตอร์ 1 รอบ ( โรเตอร์กับลูกเบี้ยวแยกการหมุนออกจากกันด้วยลูกปืน ทำให้สามารถหมุนในลักษณะเช่นนี้ได้







ให้คุณลองสังเกตการหมุนอย่างละเอียด คุณจะเห็นว่า ลูกเบี้ยวหมุน 3 รอบ ต่อการหมุนของโรเตอร์ 1 รอบ




ขณะที่โรเตอร์หมุนอยู่ภายในห้องเผาไหม้ ห้องเผาไหม้ที่ถูกแยกออกเป็น 3 ห้องจะมีการหดและขยายอยู่ตลอดเวลา เป็นจังหวะดังต่อไปนี้



จังหวะดูด



เริ่มต้นเมื่อจุดยอดของโรเตอร์หมุนผ่านช่องไอดี หัองกำลังขยาย มันจึงเกิดแรงจากสูญญากาศดูดเชื้อเพลิงผสมเข้าไปในห้อง เมื่อจุดยอดเคลื่อนที่ผ่านมันจะปิดช่องไอดี และชีลด์ไว้รอเข้าสู่จังหวะอัด



จังหวะอัด



ขณะที่โรเตอร์หมุน ปริมาตรของห้องจะถูกอัดให้เล็กลง เชื้อเพลิงผสมถูกอัดไปด้วย แต่ยังไม่ระเบิด



จังหวะระเบิด



เครื่องยนต์โรตารี่ทั่วไป โรเตอร์ 1 อัน ใช้หัวเทียน 2 อัน เนื่องจากห้องเผาไหม้เป็นรูปทรงลักษณะยาวดังนั้นการเผาไหม้จึงเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าใช้หัวเทียนเพียงอันเดียว



เมื่อหัวเทียนทั้งสองถูกจุดขึ้น เชื้อเพลิงลุกไหม้ขึ้นอย่างรวดเร็ว แรงดันของแก๊สจะขับและดันโรเตอร์หมุนไปในทิศทางการขยายตัวของแก๊ส จนกระทั่งจุดยอดของโรเตอร์ผ่านไปยังช่องไอเสีย



จังหวะคาย



เมื่อจุดยอดผ่านช่องไอเสีย แก๊สแรงดันสูงจะไหลทะลักออกไปที่ช่องไอเสีย โรเตอร์จะช่วยผลักแก๊สให้ไหลออกไปอีก เมื่อจุดยอดเคลื่อนที่ปิดช่องไอเสีย วัฏจักรหมุนเข้าสู่จังหวะดูดอีกครั้ง



การหมุนของโรเตอร์ 1 รอบ มีการระเบิด 3 ครั้ง ทุกๆหน้าต้องผ่านการระเบิดทั้งสิ้น จึงต้องจำไว้ว่า เพลาส่งกำลังหมุน 3 รอบต่อการหมุนของโรเตอร์ 1 รอบ ซึ่งหมายความว่า การระเบิด 1 ครั้ง เพลาส่งกำลังหมุน 1 รอบ

 
 
                                               ความแตกต่าง




มีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเครื่องยนต์โรตารี่กับเครื่องยนต์ลูกสูบ ดังต่อไปนี้



ใช้ชิ้นส่วนเคลื่อนไหวน้อยกว่า



เครื่องยนต์โรตารี่มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวน้อยกว่าเครื่องยนต์แบบลูกสูบ เครื่องยนต์โรตารี่แบบ 2 โรเตอร์ ใช้ชิ้นส่วนหลักอยู่ 3 ชิ้น คือ โรเตอร์ 2 ชิ้น และเพลาส่งกำลัง 1 ชิ้น ขณะที่เครื่องยนต์แบบลูกสูบใช้ชิ้นส่วนเคลื่อนไหว 40 ชิ้น เช่น ลูกสูบ ก้านลูกสูบ เพลาลูกเบี้ยว วาวล์ สปริงวาวล์ และสายพาน เป็นต้น



การลดชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนไหวลง หมายความว่า เครื่องยนต์โรตารี่มีความสเถียรภาพมากกว่า ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่บริษัทเครื่องบินบางแห่ง นำเครื่องยนต์โรตารี่ไปใช้แล้ว



เครื่องยนต์หมุนเรียบกว่า



ตัวโรเตอร์หมุนอย่างต่อเนื่องไปในทิศทางเดียว ไม่มีการเปลี่ยนทิศทางอย่างรุนแรงเหมือนลูกสูบ ดังนั้นการส่งกำลังของเครื่องยนต์โรตารี่จึงเรียบกว่า การเผาไหม้เกิดขึ้นใน 3 ครั้ง ต่อ การหมุนของเพลา 3 รอบ การเผาไหม้เกิดขึ้นทุกรอบ ไม่เหมือนกับลูกสูบที่มีการเผาไหม้ 1 ครั้งต่อการหมุน 2 รอบ



ช้ากว่าจึงดีกว่า



เพราะว่าโรเตอร์หมุน 1 ใน 3 ของรอบเพลา ดังนั้นชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์โรตารี่จึงหมุนช้ากว่าเครื่องยนต์แบบลูกสูบ จึงช่วยให้มันเกิดการสึกหรอน้อยกว่า



                                               ปัญหาอื่นๆ



ปัญหาน่าปวดหัวของเครื่องยนต์โรตารี่มีดังนี้



ไอเสียออกมามาก การเผาไหม้เกิดขึ้นยังไม่สมบูรณ์นัก

ค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงมาก เพราะว่าจำนวนโรเตอร์ไม่สามารถเพิ่มได้เหมือนลูกสูบ

ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่า เพราะว่าอัตราส่วนอัดน้อยกว่าของลูกสูบ ประสิทธิภาพทางความร้อนจึงน้อยกว่า



ตัวอย่าง รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์โรตารี่

Mazda Rx7
                                                

Mazda Rx8



ขอบคุณ ข้อมูลจาก..ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล